วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบย่านาง

ใบย่านาง สมุนไพรลดความอ้วน,แก้โรคเบาหวาน,ความดัน,หัวใจ มะเร็ง

ภูมิแพ้,ร้อนใน,ไซนัสจมูกตัน,ไมเกรน,ริดสีดวงทวาร,ปอดร้อนนอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
วิธีทำน้ำย่านาง ใช้ใบย่านาง 30-50ใบ ต่อน้ำ4ลิตรครึ่ง ผสมใบเตย-10ใบ,
หญ้าม้า10ใบ(ใบคล้ายใบอ้อย มีรสหวาน), ใบอ่อมแซบ(เบ็ญจรงค์)ประมาณ1หยิบมือ(10ยอด)
(หากมีแต่ใบย่านางกับใบเตย อย่างอื่นหาไม่ได้ 2อย่างก็ใช้ได้ครับ) ขยี้กับน้ำสะอาด
หรือปั่นด้วยเครื่องมือหมุน หรือใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดเกียว (ถ้าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ที่ใช้ใบมีดปั่น ให้ใส่น้ำแข็ง5-7ก้อน
เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในขณะปั่น ความร้อนจะทำลายเอ็นไซท์)ใส่น้ำเกือบเต็มโถปั่น
ปั่นประมาณ30วินาที หรือ45วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ (ที่ร่อนแป้งด้ามพาสติก)
กากนำมาปั่นซ้ำ ได้อีก7-8ครั้ง หรือจนกว่าจะหมดเขียว
   กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้4-5วัน
ถ้ารสชาดเปลี่ยนสรรพคุณจะเริ่มเสื่อมแล้ว ถ้าเสียแล้วจะเริ่มมีรสเปรี้ยว 
ถ้าต้องการให้หายเร็ว ดื่มวันละ1.5ลิตรขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลจะลดลง เหมือนคนปกติทั่วไป
  คนที่เป็นเบาหวาน ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เหตุที่ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เพราะร่างกาย
เกิดภาวะร้อนเกินไป ระบบการทำงานของร่างกายจึงป้องกันตนเอง ไม่ให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
เพื่อไม่ให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (หากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลร่างกาย
จะยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก)  น้ำตาลเมื่อไม่ถูกเผาผลาญก็อยู่ในกระแสเลือด
แต่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้ เซลล์จึงขาดน้ำตาล มีอาการอ่อนเพลียง่าย
   จึงต้องแก้ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น ใบย่านางมีฤทธิ์เย็นมาก เมื่อร่างกายได้เย็นลงแล้ว
ระบบการทำงานของร่างกายจะสั่งตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ
และเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน เซลล์เมื่อได้รับน้ำตาลและใช้น้ำตาลได้
อาการอ่อนเพลียจึงหายไปครับ
    เป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ ด้วยตัวของผู้ที่เป็นเบาหวานเอง
ใบย่านาง ชนิดเดียวกัน ที่ชาวอีสานใส่แกงหน่อไม้ครับ 
   คนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานก็ดื่มได้ครับ ช่วยป้องกันโรคที่ไม่มีเชื้อโรค เช่น โรคอ้วน,
ความดัน,เบาหวาน,หัวใจ,มะเร็ง,ตับ,ไต,ภูมแพ้, นอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
   จากประสบการณ์อาจารย์อาจารย์ของผมท่านหนึ่ง เป็นโรคเบาหวานมานาน30ปี
ดื่ม1-2สัปดาห์ และกินอาหารธรรมชาติแบบหมอเขียว น้ำตาลในเลือดวัดแล้ว
ไม่เกินร้อย เวลานี้หยุดกินยาอินซูลินแล้ว หันมาดื่มน้ำใบย่านางเขียวทุกวันครับ
 อาจารย์ของผมได้ความรู้นี้จาก  หมอเขียว (ใจเพชร กล้าจน) การแพทย์วิถีพุทธ 
  ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบยานางเขียว ก้อนมะเร็งจะฝ่อเล็กลง หรือจากก้อนมะเร็ง
กลายเป็นแค่ถุงน้ำ
    เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดื่มน้ำย่านาง
ผู้ที่เป็นมะเร็ง, เบาหวาน,โรคอ้วน,ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
เช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหาร รสจัด เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,
เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง เพราะอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
จะทำให้โรครุนแรงขึ้น โบราณท่านว่าเป็นของแสลงครับ
(((พืชผัก, ผลไม้,เนื้อสัตว์ ที่มีสารเคมีตกค้าง มีพิษ ฤทธิ์ร้อนมาก)))

  คนที่ดื่มแล้ว ร่างกายเกิดภาวะเย็นเกินไป ควรเติมน้ำร้อนหรือนำไปต้มก่อน แล้วดื่มตอนอุ่นๆครับ

   ในช่วงที่ต้องการลดความอ้วน ลดพุง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายมานาน
ต้องงดอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน กินแต่อาหารที่มีฤทธิ์เย็น เพื่อร่างการจะได้เผาผลาญไขมันเก่า
ให้เป็นพลังงานได้เต็มที่ครับ
ใช้ได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชายครับ สัปดาห์แรก ลดได้3-4กก.ได้สบายๆ
ถ้าเน้นอาหารธรรมชาติ ฤทธิ์เย็น พืชผักให้มากๆ(ผักปลอดสารพิษ)
ปรุงแต่งน้อย และเน้นรสจืด ใส่เกลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
กินผักสด, ลวก,หรือต้มไฟปานกลาง,นึ่ง ไม่ใช้ผงชูรส, งดการอาหารผัด,
งดอาหารที่ใส่น้ำมันทุกชนิด งดขนมหวานทุกชนิด ร่างกายจะได้
นำไขมันที่สะสมมาเผาผลาญให้เป็นพลังงานแทนครับ
ส่วนข้าว เป็นข้าวขาว หรือข้าวกล้องก็ได้ครับ ถ้าเป็นข้าวกล้องจะเยี่ยมมากครับ
ถ้ารู้สึกเหนื่อยไม่มีแรง ควรดื่มน้ำผึ้งเล็กน้อย หรือน้ำแตงโม(แตงโมปลอดสารพิษ)
***อาหารที่ปรุงด้วยไฟแรงๆ จะเพื่มฤทธิ์ร้อนให้กับอาหารมากยิ่งขึ้น
จึงต้องปรุงด้วยไฟปานกลางครับ

  ในช่วงปกติ ความจริงร่างกายของคนเรา ต้องการทั้งอาหารฤทธิ์ร้อน และฤทธิ์เย็น
อย่างสมดุลตามฤดูกาล   แต่เนื่องจากเราอยู่ในภูมิประเทศที่ร้อน จึงต้องกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็นมากกว่าฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย และมีกำลัง
    ถ้าอยู่ในเมืองหนาวจัด ต้องได้อาหารฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย
และมีกำลัง
    อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,กระเทียม,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหารรสจัด
เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง,
ผงชูรสมีฤทธิ์ร้อนจัดมาก ร้อนหลายสิบเท่าของอาหาร ที่เป็นพืชผักที่กล่าวมา
   จำง่ายๆ อาหารใดมีรสเผ็ด,ร้อน,ซ่า(เช่นข่า) หรือกินแล้วหิวน้ำมาก อาหารนั้นมีฤทธิ์ร้อน
   อาหารใดมีรสจืด,เย็น,ขม,หวานอ่อนๆ หรือตรงกันข้ามกับอาหารฤทธิ์ร้อน
กินแล้วไม่ค่อยอยากน้ำ หรือ(ดื่มน้ำแล้ว น้ำไม่อร่อยเลยเช่น ดื่มน้ำหลังกินแตงโม)
แสดงว่า อาหารนั้นมีฤทธิ์เย็น
    ตัวอย่างของอาหารกลุ่มฤทธิ์เย็นมีดังนี้
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต : น้ำตาล เส้นขาว (เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง(ยกเว้นข้าวกล้องแดง) ฯลฯ

กลุ่มโปรตีน : ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู ฯลฯ

กลุ่มผัก : ผักบุ้ง ตำลึง ผักหวาน บวบ ฟัก แตงต่างๆ สายบัว หยวกกล้วย ยอดฟักแม้ว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านหางจระเข้ ถั่งงอก บร็อกโคลี หัวไชเท้า ฯลฯ

กลุ่มผลไม้ : มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยน้ำว้า มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลางสาด สตอรว์เบอร์รี่ ฯลฯ

แม้รสชาติจะต่างกัน แต่อาหารฤทธิ์เย็น อาหารฤทธิ์ร้อน มีหลักการเดียวกัน คือปรับสมดุลร่างกาย
ดังคำกล่าวที่ว่า "กินแล้วรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง"

ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลจากหนังสือ ย่านาง ร้อน-เย็น ไม่สมดุลย์ ความลับฟ้า
          การวิเคราะห์อาการ ว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบใด
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
 1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาตก ขนคิ้วร่วง ขอบตาคล้ำ
 2. มีสิว ฝ้า
 3. มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
 4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
 5. ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
 7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ
 8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
 9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย (ท้องอืดโดยทั่วไปแล้วเป็นภาวะเย็นเกิน)
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ ไอ
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาล หรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศร้อน หรือเปลี่ยนอิริยายถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ
จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29. หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30. สะอึก
31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า
32. เกร็ง ชัก
33. โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เนื้องอก มะเร็ง โรคเกาต์ เบาหวาน ความดัน-โลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และพิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
   โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพร ฤทธิ์เย็น
       ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
1. ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
2. ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
3. ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา
    ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกันแก้ด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น แต่นำไปต้ม
หรือเติมน้ำร้อน ดื่มขณะอุ่นๆ หรือสมุนไพรฤทธ์ร้อน-เย็นผสมกัน


อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
1. หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
2. ตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน
3. ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
4. เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
5. หนักหัว หัวตื้อ
6. ริมฝีปากซีด
7. ขอบตา หนังตาบวมตึง
8. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
9. ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
10. ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
11. เจ็บหน้าอกด้านขวา
12. หายใจไม่อิ่ม
13. ท้องอืดจุกเสียดแน่น
14. ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
15. อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
16. มือเท้า มึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย
17. ตกกระสีขาว
18. มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า
19. เล็บยาวแคบกว่าปกติ
20. เท้าบวมเย็น
       โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก (พริกไทย ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ  ปึ้ง ย่าง หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น