วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบย่านาง

ใบย่านาง สมุนไพรลดความอ้วน,แก้โรคเบาหวาน,ความดัน,หัวใจ มะเร็ง

ภูมิแพ้,ร้อนใน,ไซนัสจมูกตัน,ไมเกรน,ริดสีดวงทวาร,ปอดร้อนนอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
วิธีทำน้ำย่านาง ใช้ใบย่านาง 30-50ใบ ต่อน้ำ4ลิตรครึ่ง ผสมใบเตย-10ใบ,
หญ้าม้า10ใบ(ใบคล้ายใบอ้อย มีรสหวาน), ใบอ่อมแซบ(เบ็ญจรงค์)ประมาณ1หยิบมือ(10ยอด)
(หากมีแต่ใบย่านางกับใบเตย อย่างอื่นหาไม่ได้ 2อย่างก็ใช้ได้ครับ) ขยี้กับน้ำสะอาด
หรือปั่นด้วยเครื่องมือหมุน หรือใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดเกียว (ถ้าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ที่ใช้ใบมีดปั่น ให้ใส่น้ำแข็ง5-7ก้อน
เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในขณะปั่น ความร้อนจะทำลายเอ็นไซท์)ใส่น้ำเกือบเต็มโถปั่น
ปั่นประมาณ30วินาที หรือ45วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ (ที่ร่อนแป้งด้ามพาสติก)
กากนำมาปั่นซ้ำ ได้อีก7-8ครั้ง หรือจนกว่าจะหมดเขียว
   กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้4-5วัน
ถ้ารสชาดเปลี่ยนสรรพคุณจะเริ่มเสื่อมแล้ว ถ้าเสียแล้วจะเริ่มมีรสเปรี้ยว 
ถ้าต้องการให้หายเร็ว ดื่มวันละ1.5ลิตรขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลจะลดลง เหมือนคนปกติทั่วไป
  คนที่เป็นเบาหวาน ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เหตุที่ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เพราะร่างกาย
เกิดภาวะร้อนเกินไป ระบบการทำงานของร่างกายจึงป้องกันตนเอง ไม่ให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
เพื่อไม่ให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (หากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลร่างกาย
จะยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก)  น้ำตาลเมื่อไม่ถูกเผาผลาญก็อยู่ในกระแสเลือด
แต่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้ เซลล์จึงขาดน้ำตาล มีอาการอ่อนเพลียง่าย
   จึงต้องแก้ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น ใบย่านางมีฤทธิ์เย็นมาก เมื่อร่างกายได้เย็นลงแล้ว
ระบบการทำงานของร่างกายจะสั่งตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ
และเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน เซลล์เมื่อได้รับน้ำตาลและใช้น้ำตาลได้
อาการอ่อนเพลียจึงหายไปครับ
    เป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ ด้วยตัวของผู้ที่เป็นเบาหวานเอง
ใบย่านาง ชนิดเดียวกัน ที่ชาวอีสานใส่แกงหน่อไม้ครับ 
   คนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานก็ดื่มได้ครับ ช่วยป้องกันโรคที่ไม่มีเชื้อโรค เช่น โรคอ้วน,
ความดัน,เบาหวาน,หัวใจ,มะเร็ง,ตับ,ไต,ภูมแพ้, นอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
   จากประสบการณ์อาจารย์อาจารย์ของผมท่านหนึ่ง เป็นโรคเบาหวานมานาน30ปี
ดื่ม1-2สัปดาห์ และกินอาหารธรรมชาติแบบหมอเขียว น้ำตาลในเลือดวัดแล้ว
ไม่เกินร้อย เวลานี้หยุดกินยาอินซูลินแล้ว หันมาดื่มน้ำใบย่านางเขียวทุกวันครับ
 อาจารย์ของผมได้ความรู้นี้จาก  หมอเขียว (ใจเพชร กล้าจน) การแพทย์วิถีพุทธ 
  ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบยานางเขียว ก้อนมะเร็งจะฝ่อเล็กลง หรือจากก้อนมะเร็ง
กลายเป็นแค่ถุงน้ำ
    เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดื่มน้ำย่านาง
ผู้ที่เป็นมะเร็ง, เบาหวาน,โรคอ้วน,ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
เช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหาร รสจัด เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,
เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง เพราะอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
จะทำให้โรครุนแรงขึ้น โบราณท่านว่าเป็นของแสลงครับ
(((พืชผัก, ผลไม้,เนื้อสัตว์ ที่มีสารเคมีตกค้าง มีพิษ ฤทธิ์ร้อนมาก)))

  คนที่ดื่มแล้ว ร่างกายเกิดภาวะเย็นเกินไป ควรเติมน้ำร้อนหรือนำไปต้มก่อน แล้วดื่มตอนอุ่นๆครับ

   ในช่วงที่ต้องการลดความอ้วน ลดพุง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายมานาน
ต้องงดอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน กินแต่อาหารที่มีฤทธิ์เย็น เพื่อร่างการจะได้เผาผลาญไขมันเก่า
ให้เป็นพลังงานได้เต็มที่ครับ
ใช้ได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชายครับ สัปดาห์แรก ลดได้3-4กก.ได้สบายๆ
ถ้าเน้นอาหารธรรมชาติ ฤทธิ์เย็น พืชผักให้มากๆ(ผักปลอดสารพิษ)
ปรุงแต่งน้อย และเน้นรสจืด ใส่เกลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
กินผักสด, ลวก,หรือต้มไฟปานกลาง,นึ่ง ไม่ใช้ผงชูรส, งดการอาหารผัด,
งดอาหารที่ใส่น้ำมันทุกชนิด งดขนมหวานทุกชนิด ร่างกายจะได้
นำไขมันที่สะสมมาเผาผลาญให้เป็นพลังงานแทนครับ
ส่วนข้าว เป็นข้าวขาว หรือข้าวกล้องก็ได้ครับ ถ้าเป็นข้าวกล้องจะเยี่ยมมากครับ
ถ้ารู้สึกเหนื่อยไม่มีแรง ควรดื่มน้ำผึ้งเล็กน้อย หรือน้ำแตงโม(แตงโมปลอดสารพิษ)
***อาหารที่ปรุงด้วยไฟแรงๆ จะเพื่มฤทธิ์ร้อนให้กับอาหารมากยิ่งขึ้น
จึงต้องปรุงด้วยไฟปานกลางครับ

  ในช่วงปกติ ความจริงร่างกายของคนเรา ต้องการทั้งอาหารฤทธิ์ร้อน และฤทธิ์เย็น
อย่างสมดุลตามฤดูกาล   แต่เนื่องจากเราอยู่ในภูมิประเทศที่ร้อน จึงต้องกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็นมากกว่าฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย และมีกำลัง
    ถ้าอยู่ในเมืองหนาวจัด ต้องได้อาหารฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย
และมีกำลัง
    อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,กระเทียม,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหารรสจัด
เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง,
ผงชูรสมีฤทธิ์ร้อนจัดมาก ร้อนหลายสิบเท่าของอาหาร ที่เป็นพืชผักที่กล่าวมา
   จำง่ายๆ อาหารใดมีรสเผ็ด,ร้อน,ซ่า(เช่นข่า) หรือกินแล้วหิวน้ำมาก อาหารนั้นมีฤทธิ์ร้อน
   อาหารใดมีรสจืด,เย็น,ขม,หวานอ่อนๆ หรือตรงกันข้ามกับอาหารฤทธิ์ร้อน
กินแล้วไม่ค่อยอยากน้ำ หรือ(ดื่มน้ำแล้ว น้ำไม่อร่อยเลยเช่น ดื่มน้ำหลังกินแตงโม)
แสดงว่า อาหารนั้นมีฤทธิ์เย็น
    ตัวอย่างของอาหารกลุ่มฤทธิ์เย็นมีดังนี้
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต : น้ำตาล เส้นขาว (เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง(ยกเว้นข้าวกล้องแดง) ฯลฯ

กลุ่มโปรตีน : ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู ฯลฯ

กลุ่มผัก : ผักบุ้ง ตำลึง ผักหวาน บวบ ฟัก แตงต่างๆ สายบัว หยวกกล้วย ยอดฟักแม้ว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านหางจระเข้ ถั่งงอก บร็อกโคลี หัวไชเท้า ฯลฯ

กลุ่มผลไม้ : มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยน้ำว้า มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลางสาด สตอรว์เบอร์รี่ ฯลฯ

แม้รสชาติจะต่างกัน แต่อาหารฤทธิ์เย็น อาหารฤทธิ์ร้อน มีหลักการเดียวกัน คือปรับสมดุลร่างกาย
ดังคำกล่าวที่ว่า "กินแล้วรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง"

ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลจากหนังสือ ย่านาง ร้อน-เย็น ไม่สมดุลย์ ความลับฟ้า
          การวิเคราะห์อาการ ว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบใด
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
 1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาตก ขนคิ้วร่วง ขอบตาคล้ำ
 2. มีสิว ฝ้า
 3. มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
 4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
 5. ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
 7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ
 8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
 9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย (ท้องอืดโดยทั่วไปแล้วเป็นภาวะเย็นเกิน)
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ ไอ
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาล หรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศร้อน หรือเปลี่ยนอิริยายถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ
จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29. หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30. สะอึก
31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า
32. เกร็ง ชัก
33. โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เนื้องอก มะเร็ง โรคเกาต์ เบาหวาน ความดัน-โลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และพิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
   โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพร ฤทธิ์เย็น
       ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
1. ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
2. ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
3. ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา
    ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกันแก้ด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น แต่นำไปต้ม
หรือเติมน้ำร้อน ดื่มขณะอุ่นๆ หรือสมุนไพรฤทธ์ร้อน-เย็นผสมกัน


อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
1. หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
2. ตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน
3. ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
4. เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
5. หนักหัว หัวตื้อ
6. ริมฝีปากซีด
7. ขอบตา หนังตาบวมตึง
8. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
9. ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
10. ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
11. เจ็บหน้าอกด้านขวา
12. หายใจไม่อิ่ม
13. ท้องอืดจุกเสียดแน่น
14. ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
15. อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
16. มือเท้า มึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย
17. ตกกระสีขาว
18. มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า
19. เล็บยาวแคบกว่าปกติ
20. เท้าบวมเย็น
       โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก (พริกไทย ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ  ปึ้ง ย่าง หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด

ใบย่านาง

สรรพรรพคุณใบย่านาง


ชื่อภาษาอังกฤษ Bai-ya-nang ; Ya-nang young leaves
ชื่อท้องถิ่น จอยนาง ผักจอยนาง
ชื่อ file ภาพ PA242604, PA242613
ชื่อทางวิทยศาสตร์ Tiliacora Traindra Diels, Antiaris tocicaria
วงศ์ Menispermaceae
ประเภท ผัก
พบอยู่ในภาค ,,ตะวันออกเฉียงเหนือ,
คุณลักษณะ เป็นไม้เลื้อยพบในธรรมชาติ ชอบดินทุกชนิด ปลูกได้ทุกฤดูกาล ย่านางมีรสจืด เถาและใบนิยมใช้เป็นเครื่องปรุง ใช้เถาและใบอ่อน ใบแก่ ตำคั้นเอาน้ำสีเขียวไปต้มกับหน่อไม้ ช่วยลดกรดออกซาลิก ใช้ทำแกงหน่อไม้หรือซุปห
ประโยชน์ ใบ เถา คั้นน้ำใส่แกง ซุปหน่อไม้ ชาวอีสานใช้ใบอ่อน ใบแก่ ตำคั้นน้ำ สำหรับปรุงแต่งรสของแกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ใบย่านางช่วยลดรสขมของหน่อไม้
คุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ แคลเซียม
ประโยชน์ 2 ดับพิษร้อน แก้อีสุกอีใส รักษาอาการลิ้นกระด้าง แก้ไข้รากสาด ช่วยลดรส-ม รากแก้ไข้ได้ทุกชนิด
หาซื้อได้ที่ ทั่วไปในประเทศไทย อีสาน
ฤดูกาลที่หาง่าย ตลอดปี ฤดูฝน
หน่วยวัด 1 กำ
หน่วย 100 กรัม
ราคา 5.00

หน่อไม้งอกไกลกอ

หน่อไม้งอกไกลกอ
เราอยู่กรุงเทพฯ บ้านเราไม่เคยมีใครทำการเกษตรเลยนะ” แม่ของผมในวัยกว่าเจ็ดสิบบอกกับผมด้วยความเป็นห่วงตอนที่ผมไปขอโฉนดที่ดินที่นครสวรรค์พร้อมกับบอกว่ามีโครงการไปอยู่ที่นั่น
จากการไปชมนิทรรศการ “Please mind the gap” ที่มิวเซียมสยามเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นิทรรศการที่ชักชวนให้ผู้ชมร่วมค้นหา “ตัวตน” ของคน 3 ยุค ทำให้ทราบว่า ผมเกิดในยุค 60 ช่วงปลายสุด ยุคการเปลี่ยนแปลงที่สองของมนุษย์ชาติ ทำให้ผมย้อนกลับไปคิดถึงช่วงจบมัธยมปลายและจบปริญญาตรี โลกของคนยุคพ่อและแม่ของผมที่ทั้งตระกูลมีแต่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมองว่า ผมตัดสินใจผิดที่เลือกจะทำงานเอกชนและตั้งเป้าจะมีกิจการของตัวเอง
โครงการนครสวรรค์ของผมในความรู้สึกของแม่ คงเป็นการไปทำไร่ปลูกมันปลูกข้าวโพด ซึ่งแน่นอน โครงการของผมมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ผมก็ยังไม่สามารถอธิบายภาพเลือนลางในใจของผมให้แม่เข้าใจได้ว่า การไปอยู่นครสวรรค์ภายใต้ปรัชญาการใช้ชีวิตโดยวิธีเกษตรนั้นเป็นอย่างไร?

ในเวลาที่เข้าสู่ช่วงปลายของเดือนพฤษภาที่ฝนลงมาติดๆ กันหลายวันแล้ว หน่อไม้ที่กอไผ่หลังบ้านเช่าที่ผมอยู่ในชานตัวเมืองนครปฐมกำลังทยอยแทงหน่อให้ผมเก็บวันละหน่อสองหน่อ ผมปลูกไผ่กอนี้มาราวสี่ปีแล้ว โดยหวังว่าเงาของมันจะบังร้อนให้ตัวบ้าน นอกจากผลที่ได้ดังหวัง ผมรื่นรมย์กับเสียงใบไผ่ในลมร้อน เห็นไผ่ลู่ลมโอนเอนในลมฝน อบอุ่นภายใต้ใบไผ่แห้งปลิวในลมหนาว ได้ใบไผ่มาช่วยปรับปรุงดิน ได้ลำไผ่มาใช้ประโยชน์ และได้หน่อไม้ของชอบมากินอย่างเหลือเฟือทุกปี

วิธีเลือกซื้อหน่อไม้


วิธีเลือกซื้อและกินหน่อไม้
ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดมาตรการเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยของประชาชน กรณีหน่อไม้ปี๊บ ดังนี้
๑. ก่อนกินหน่อไม้ จะต้องต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดเป็นเวลาอย่างน้อย ๓๐ นาที เพื่อฆ่าเชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม และเทน้ำที่ใช้ต้มทิ้ง ห้ามนำมาใช้ปรุงอาหาร
๒. การผลิตหน่อไม้ ใช้วิธีเติมกรด เพื่อให้หน่อไม้มีความเป็นกรดสูง ป้องกันมิให้เชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม เติบโตและสร้างสารพิษ และได้ความร้อนอย่างทั่วถึง
๓. อนาคต กำหนดให้การผลิตหน่อไม้บรรจุปี๊บมีการควบคุมมาตรฐานจีเอ็มพี
สำหรับอาหารกระป๋องประเภทอื่นๆ ที่เข้าข่ายอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ ก่อนซื้อและก่อนกิน จะต้องอ่านฉลากอย่างละเอียด และดูวันหมดอายุ
สังเกตสภาพของภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ผิดปกติ ไม่เป็นสนิม หากมีสภาพบุบเบี้ยว ห้ามซื้อเด็ดขาด เพราะอาจเกิดรอยรั่วที่อากาศภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับอาหาร เกิดการบูดเสียได้ การเก็บอาหารกระป๋องที่ยังไม่เปิด ให้เก็บในที่แห้งเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และต้องไม่ถูกแสงแดด หรือความร้อน เพราะจะเป็นการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และกายภาพของตัวอาหาร ซึ่งจะทำให้อาหารหมดอายุก่อนกำหนด
* หมายเหตุ สภาวะความเป็นกรดด่างในทางวิทยาศาสตร์กำหนดโดยค่า pH (พีเอช) ซึ่งในสภาวะที่เป็นกรดจะมีค่าพีเอชต่ำ ส่วนสภาวะที่มีเป็นกรดน้อยกว่าจะมีค่าพีเอชที่สูงกว่า

สารพิษโบทูลิน : มหันตภัยที่ซ่อนในหน่อไม้ปี๊บ

สารพิษโบทูลิน : มหันตภัยที่ซ่อนในหน่อไม้ปี๊บ

ท่ามกลางข่าวความยุ่งเหยิงและสับสนทางการเมืองที่กรุงเทพมหานครในช่วงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ผ่านมา มีข่าวที่สร้างความตื่นเต้นไม่แพ้กันที่อำเภอ บ้านหลวง จังหวัดน่าน ซึ่งมีผู้ป่วยอาการหนักจากการกินหน่อไม้ปี๊บมากกว่า ๒๐๐ รายอาการป่วยดังกล่าวมีสาเหตุเนื่องมาจากการได้รับสารพิษที่เรียกว่าโบทูลิน (botulin) ความเสียหายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่ามหาศาล เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ใช้เฉพาะกรณีนี้สูงถึง ๕๐ ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงผู้ป่วยบางรายที่อาจมีอาการป่วยเรื้อรังต่อไป นอกจากนี้ ข่าวที่กระจายออกไปทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ไม่กล้ากินผลิตภัณฑ์จากหน่อไม้ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการระบุว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่เป็นอาวุธชีวภาพที่ใช้ในสงคราม

ผลต่อเนื่องดังกล่าวกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระดับรากหญ้าโดยตรง เพราะการผลิตหน่อไม้ปี๊บมีกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน จึงนับเป็นรายได้หลักของหลายชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ทำหน้าที่ส่งหน่อไม้ดิบเข้ามาขาย ความเสียหายมิได้จำกัดแต่เฉพาะกับเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่อาจมีผลต่อการค้าระหว่างประเทศ เพราะประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก เกิดมีกรณีเจ็บป่วยจากสารพิษโบทูลินที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในโลก

ปัญหาสารพิษโบทูลินมิใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าพบมีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการกินหน่อไม้ปี๊บที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษชนิดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หลังจากนั้นมีการพบที่จังหวัดน่าน และลำปาง ในปีต่อๆ มา กรณีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสารพิษโบทูลินน่าจะมีเกิดขึ้นก่อนหน้าปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่มิได้มีการสอบสวนหาสาเหตุของโรคอย่างถูกต้อง เพราะประเทศไทยยังขาดประสบการณ์และความชำนาญเกี่ยวกับโรคดังกล่าว นอกจากนี้ กรณีที่เกิดขึ้นในอดีตมีผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวบ้านเพียง ๒-๓ ราย จึงไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐและผู้ที่เกี่ยว ข้องซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการเท่าที่ควร ดังนั้น วิกฤตการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความสนใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการแปรรูปและควบคุมคุณภาพหน่อไม้ปี๊บ ซึ่งได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายที่ปนเปื้อนอยู่ในหน่อไม้บรรจุปี๊บ
สารพิษโบทูลินคืออะไร
โบทูลิน เป็นชื่อสารพิษที่สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clostridium botulinum (คลอสทริเดียม โบทูลินัม) เชื้อจุลินทรีย์คลอสทริเดียม โบทูลินัม มักพบในรูปของสปอร์ ที่กระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในดินซึ่งปนเปื้อนไปยังผลิตผลทางการเกษตร โดยลม ฝน ฝุ่น และในระหว่างการเก็บเกี่ยว
สปอร์ของแบคทีเรียคล้ายกับเมล็ดของพืช ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี สปอร์ของคลอสทริเดียม โบทูลินัมในสภาวะธรรมชาติ ปกติมิได้มีอันตรายกับมนุษย์
อย่างไรก็ตาม อันตรายมหันต์จะเกิดขึ้น หากสปอร์อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับการงอกเจริญเติบโต ซึ่งได้แก่สภาวะที่ไม่มีอากาศโดยเฉพาะก๊าซออกซิเจน และไม่มีกรดสูง

สารพิษโบทูลิน คืออันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อสปอร์ของคลอสทริเดียม โบทูลินัมงอกเป็นเซลล์ปกติในสภาวะที่ไม่มีอากาศและมีค่าพีเอชสูงกว่า ๔.๘ ในขณะที่สปอร์กำลัง งอกก็ทำการสร้างสารพิษโบทูลินขึ้น สารพิษโบทูลินมีความรุนแรงที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับสารพิษประเภทอื่นๆ ที่พบในอาหาร เนื่องจากเป็นสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท (neurotoxin) อย่างรุนแรง และมีอันตรายถึงชีวิตภายใน ๑๘-๓๖ ชั่วโมง โดยมีอาการเริ่มตั้งแต่ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย แล้วต่อเนื่องเป็นปาก คอ ลิ้นแห้ง ม่านตาไม่ตอบสนอง ตามองเห็นภาพซ้อน กลืนยาก หายใจขัด ตาพร่ามัว เป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบการหายใจล้มเหลว จนเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้ สารพิษในปริมาณเพียง ๐.๑-๑ ไมโครกรัมก็สามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าวในมนุษย์ได้แล้ว หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่า สารพิษโบทูลินเพียง ๑ หยด สามารถฆ่าคนได้ถึง ๕,๐๐๐ คน สารพิษโบทูลินจึงถูกผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพที่นำไปเติมในแหล่งน้ำและอาหารของข้าศึก แม้ว่าสารพิษโบทูลินจะมีความรุนแรงที่สูงมาก สารพิษกลับสามารถถูกทำลายโดยใช้ความร้อนที่ไม่สูงนัก การให้ความร้อนแก่สารพิษโบทูลินที่ ๘๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๑๐-๑๕ นาที ก็เพียงพอที่จะทำลายโบทูลินได้แล้ว อย่างไรก็ตามคำแนะนำในการกินอาหารที่ต้องสงสัยว่าปนเปื้อนด้วยสารพิษโบทูลินจะแนะนำให้ต้มอาหารจนเดือดเป็นเวลานานประมาณ ๓๐ นาที เพราะจำเป็นต้องเผื่อเวลาที่ความร้อนต้องส่งผ่านจากภายนอกชิ้นอาหารเข้าสู่กลางชิ้นอาหาร
อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารพิษโบทูลิน
ในบ้านเรา หน่อไม้บรรจุปี๊บตกเป็นจำเลยที่ ๑ เพราะถูกพบว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารที่อยู่ในสภาวะที่ไม่มีอากาศและมีความเป็นกรดต่ำ (พีเอชสูงกว่า ๔.๘) ล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น อาหารที่อยู่ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ (สุญญากาศ) ซึ่งเราพบเห็นอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ได้แก่ อาหารที่บรรจุในกระป๋อง ขวดแก้ว ปี๊บ ถุงพลาสติกบางประเภท และถุงที่สามารถฆ่าเชื้อในหม้อฆ่าเชื้อได้ (retortable pouch) ตามมาตรฐานสากลผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ถูกกำหนดให้เป็น "อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท" (Food packed in hermetically sealed container)  กระบวนการผลิตอาหารเหล่านี้จำเป็นต้องมีการไล่อากาศออกจากภาชนะบรรจุ ซึ่งอาจทำได้ง่ายๆ โดยการบรรจุอาหารที่ร้อนจัดลงในภาชนะบรรจุ หรือทำให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุร้อนจัด แล้วปิดฝาให้สนิททันที

วิธีการดังกล่าวจะทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศในภาชนะบรรจุเมื่ออุณหภูมิลดลงสู่ปกติ สาเหตุที่ต้องมีการไล่อากาศออกจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือป้องกันมิให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับอาหารจนเสื่อมสภาพ เนื่องจากอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทเหล่านี้มักมีอายุการเก็บที่นานนับปี ด้วยความจำเป็นดังกล่าวทำให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการงอกของสปอร์และสร้างสารพิษในที่สุด อาหารในภาชนะปิดสนิทที่มีค่าพีเอชสูงกว่า ๔.๘ ซึ่งรวมถึงหน่อไม้ปี๊บ จึงเป็นอาหารประเภทที่กฎหมายนานาชาติทั่วโลกให้ความสำคัญมาก และเน้นการควบคุมกระบวนการผลิตที่เข้มงวดมาก เพราะการที่จะผลิตอาหารในภาชนะปิดสนิทที่มีค่าพีเอชสูงกว่า ๔.๘ ให้ปลอดจากสารพิษโบทูลิน ได้ จำเป็นต้องทำลายสปอร์ของคลอสทริเดียม โบทูลินัมที่ทนต่อความร้อนสูงมาก หากจะต้มทำลายในน้ำเดือดที่ ๑๐๐ องศาเซลเซียส จำเป็นต้องใช้เวลานานถึง ๖ ชั่วโมง ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการผลิตอาหารทั่วๆ ไป การใช้เวลาที่สั้นลงจำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่าจุดเดือดของน้ำ เช่น ที่ ๑๒๑.๑ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓  นาที การให้ความร้อนแก่อาหารในระดับอุณหภูมิที่สูงดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและแม่นยำ ดังนั้นจึงไม่มีความเป็นไปได้ในการที่จะผลิตอาหารในภาชนะปิดสนิทที่มีค่าพีเอชสูงกว่า ๔.๘ ซึ่งรวมถึงหน่อไม้ปี๊บด้วยให้ปลอดภัย หากยังคงผลิตในสถานประกอบการที่ขาดเงินลงทุน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยและบุคลากรที่มีความรู้
ทางเลือกสำหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก
ท่านทราบไหม? คำว่า "โบทูลินัม" ที่อยู่ในชื่อ คลอสทริเดียม โบทูลินัม มาจากภาษาละตินว่า โบทูลูส (Botulus) ที่แปลว่าไส้กรอก
แสดงว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก็ถูกพบในไส้กรอกด้วย เนื่องจากไส้กรอกมีการอัดเนื้อหมูเข้าไปจนแน่น ภายในไส้กรอกแท่งใหญ่ๆ จึงเกิดเป็นสภาวะไม่มีอากาศประกอบกับค่าพีเอชของไส้กรอกก็สูงกว่า ๔.๘ จึงเกิดความเสี่ยงในการเกิดสารพิษโบทูลินเช่นกัน ไส้กรอกเป็นอาหารที่ไม่สามารถให้ความร้อนที่สูงจนทำลายสปอร์ของคลอสทริเดียม โบทูลินัมได้ จึงมีการเติมดินประสิว หรือสารไนไทรต์เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์และไม่ให้เกิดการสร้างสารพิษขึ้น

ในกระบวนการผลิตอาหารที่โดยธรรมชาติมีค่าพีเอชสูงกว่า ๔.๘ ซึ่งต้องการบรรจุในภาชนะปิดสนิท เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว ปี๊บ ผู้ผลิตสามารถใช้วิธีการที่ง่ายกว่าและประหยัด เงินลงทุนมากกว่าโดยการเติมกรดลงในอาหาร ซึ่งวิธีการนี้ตามกฎหมายเรียกว่า การปรับกรด (acidification) โดยจะต้องปรับให้ค่าพีเอชต่ำกว่า ๔.๖ ซึ่งเป็นค่าที่เผื่อไว้สำหรับการงอกของสปอร์อีก ๐.๒ (ค่าพีเอชที่สปอร์งอกได้คือ ๔.๘) เพื่อความปลอดภัย กรดที่ใช้เติมต้องเป็นชนิดที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร  เช่น กรดซิตริก กรดมาลิก กรดแล็กติก กรดฟอสฟอริก เป็นต้น สภาวะความเป็นกรดจะยับยั้งการงอกของสปอร์และไม่ให้เกิดการสร้างสารพิษขึ้น อาหารที่ปรับกรดแล้วสามารถฆ่าเชื้อได้โดยการต้มที่อุณหภูมิน้ำเดือดเท่านั้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำลายสปอร์ที่ทนความร้อนสูง อย่างไรก็ตาม ถ้าอาหารที่ปรับกรดแล้วไม่เป็นที่ยอมรับของคนกินคนซื้อก็ไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ ในกรณีดังกล่าว ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรเพิ่มขึ้น มิเช่นนั้น ก็จำเป็นต้องปิดกิจการลงเนื่องจากไม่ผ่านตามเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

หน่อไม้ปี๊บ : กรณีเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร
หน่อไม้ปี๊บเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้มีการผลิตมานาน โดยที่ทั้งผู้ส่งเสริมและผู้ผลิตมิได้ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ การส่งเสริมทำให้มีการผลิตอย่างแพร่หลายเกิดความซับซ้อนทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความซับซ้อนเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเหนือกว่าความปลอดภัยของคนกินคนซื้อ ทำให้การจัดการเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์หน่อไม้บรรจุปี๊บทำได้ลำบาก การผลิตหน่อไม้ปี๊บที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันมักผลิตโดยการต้มหน่อไม้ในน้ำเปล่า ทำให้ผลิตภัณฑ์มีค่าพีเอชประมาณ ๕.๕-๖ ซึ่งยังไม่ต่ำเพียงพอที่จะยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ จึงจำเป็นต้องทำลายสปอร์ด้วยการให้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิที่ใช้ต้มธรรมดา อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพที่จำกัดทั้งในด้านเงินทุนและความรู้ ความชำนาญของผู้ผลิตเหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถปรับสภาวะการฆ่าเชื้อได้ดีกว่าการต้มธรรมดา ทำให้หน่อไม้ปี๊บมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการปนเปื้อนด้วยสปอร์ของเชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัมและเกิดการสร้างสารพิษโบทูลินขึ้น

ในกระบวนการผลิตหน่อไม้ปี๊บ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตนิยมใช้ปี๊บเก่าที่ใช้แล้ว ซึ่งอาจเป็นปี๊บที่เคยใช้ใส่ทั้งอาหารและที่ไม่ใช่อาหาร การกระทำดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายเพราะเป็นการนำเอาภาชนะบรรจุที่ใช้แล้วมาใช้อีก ตามปกติปี๊บที่เปิดแล้ว จะไม่สามารถปิดด้วยฝาตามแนวฝาเดิมได้อีก ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องปิดด้วยแผ่นสังกะสีและยารอยด้วยตะกั่ว โดยในขั้นตอนการยารอย ผู้ผลิตจะใช้เตาถ่านเผาแท่งเหล็กจนร้อนแดงแล้วนำไปหลอมแท่งตะกั่วให้เหลว เพื่อนำไปยารอยรอบๆ ฝา การปิดฝาด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ผลิตเนื่องจากไอตะกั่วที่สูดดมเข้าไป นอกจากนี้ อาจมีตะกั่วจากการยารอยปนเปื้อนลงในปี๊บหน่อไม้และเกิดอันตรายกับคนที่กินหน่อไม้ปี๊บนั้นๆ

การต้มหน่อไม้ปี๊บส่วนใหญ่มักทำโดยตั้งปี๊บบนเตาฟืนโดยตรง ทำให้ปี๊บได้รับความร้อนที่สูงจากเปลวไฟที่เลียอยู่รอบๆ ปี๊บ จึงเกิดความเสี่ยงที่สารเคมีซึ่งใช้เคลือบภาย ในปี๊บและยารอยปี๊บ เกิดการสลายตัวแล้วละลายลงในหน่อไม้และน้ำที่อยู่ในปี๊บ ผู้ผลิตบางส่วนยังใช้ฟืนในลักษณะที่ยังเป็นต้นมาสุมไฟ ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก หน่อไม้ปี๊บที่ผลิตจำหน่ายอยู่ทั่วไปในประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงทั้งจากอันตรายทางชีวภาพที่มาจากสารพิษโบทูลินและอันตรายทางเคมี
หน่อไม้ปี๊บปรับกรด : วิชาบังคับเลือก
ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้สนับสนุนงบประมาณให้สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาอาหารบรรจุในภาชนะปิดสนิทที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีกระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนกับสารพิษโบทูลิน การสำรวจได้ครอบคลุมถึง ๓๑ จังหวัด ซึ่งได้พบผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมากกว่า ๕๐ ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและสร้างสารพิษของเชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่สามารถเติมกรดให้มีค่าพีเอชต่ำลงจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและอาหารยังมีรสชาติเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจจำเป็นต้องมีการปรับสูตรอาหารบ้าง เพื่อให้ได้ค่าพีเอชตามที่ต้องการ ดังเช่นกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตแกงหมูชะมวงบรรจุกระป๋องจำเป็นต้องปรับลดปริมาณเนื้อหมูลง และเพิ่มปริมาณใบชะมวงซึ่งมีความเป็นกรดเพื่อให้ได้ค่าพีเอชต่ำกว่า ๔.๖ การวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการ พบว่า ในหน่อไม้สดมีสารที่เรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า "บัฟเฟอร์"  ซึ่งเป็นตัวที่ขัดขวางการปรับค่าพีเอชของผลิตภัณฑ์ ทำให้การเติมกรดไม่สามารถทำให้ค่าพีเอชลดลงตามต้องการได้

ในขั้นตอนการปรับกรดของหน่อไม้ปี๊บจึงต้องต้มหน่อไม้ให้สุกก่อนเพื่อสกัดสารบัฟเฟอร์ออกจากเนื้อหน่อไม้ แล้วเทน้ำที่ใช้ต้มทิ้งไป หลังจากนั้นจึงชั่งหน่อไม้ที่ต้มแล้วลงในปี๊บ ส่วนน้ำเปล่าที่เคยใช้เติมก็ให้เติมกรดลงไป เช่น เติมกรดซิตริก (กรดมะนาว) ในปริมาณร้อยละ ๐.๖๕ แล้วจึงต้มหน่อไม้ท่อนที่อยู่ปากปี๊บจนมีอุณหภูมิ ๘๕ องศาเซลเซียสเป็นเวลา ๕ นาทีก่อนปิดฝาปี๊บ

การแก้ปัญหาการปนเปื้อนทางเคมี ได้แก่ การบังคับให้มีการใช้ปี๊บใหม่ ซึ่งสามารถปิดได้โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องยาด้วยตะกั่วให้เกิดอันตราย และให้มีการต้มปี๊บในอ่างน้ำเพื่อเลี่ยงมิให้ปี๊บสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง วิธีการนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์หน่อไม้ปี๊บมีความปลอดภัยทั้งจากสารเคมีและสารพิษโบทูลิน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังมีอายุการเก็บนานไม่เน่าเสียง่าย กระบวนการที่กล่าวข้างต้นฟังดูยุ่งยาก แต่หลังจากมีการทดลองผลิตที่บ้านหินสูง อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ และบ้านน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ปรากฏว่าชาวบ้านทั้ง ๒ พื้นที่สามารถปฏิบัติได้ ยอมรับอายุการเก็บที่นานขึ้นและกลิ่นของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายหน่อไม้สด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหน่อไม้ที่ผลิตขึ้นมีรสเปรี้ยว จึงจำเป็นต้องต้มในน้ำให้หายเปรี้ยวก่อนนำมากิน ซึ่งวิธีการเตรียมดังกล่าวชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยและไม่ยินดีปฏิบัติตาม ดังนั้น ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์หน่อไม้ปี๊บ จึงไม่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านหลายชุมชน แม้จะรู้ว่าเป็นเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ถึงกับมีคำพูดว่า "ยอมตายดีกว่าต้องกินหน่อไม้เปรี้ยว" หรือ "ถ้าถูกบังคับให้เติมกรดก็จะเดินขบวน"

อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤตการณ์หน่อไม้ปี๊บ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดเกณฑ์บังคับให้ผู้ผลิตต้องดำเนินการผลิตด้วยวิธีการปรับกรดและใช้ปี๊บใหม่และสภาวะการต้มตามที่กำหนด การปรับกรดของหน่อไม้ปี๊บจึงกลายเป็นวิธีการที่บังคับใช้ ทั้งนี้ คนกินก็ต้องเริ่มเรียนรู้ว่าหน่อไม้บรรจุปี๊บที่ปลอดภัยต้องอยู่ในปี๊บใหม่ที่ไม่มีรอยไหม้ของเปลวไฟ มีกลิ่นหอมเหมือนหน่อไม้สด แต่มีรสเปรี้ยว ก่อนกินก็ต้องต้มก่อนให้เป็นนิสัย ทั้งนี้จะได้ช่วยป้องกันอันตรายจากหน่อไม้เถื่อนที่ไม่ยอมปรับกรดด้วย

รูปหน่อไม้

หน่อไม้สดและดอง